วิสัยทัศน์ (Vision)

          สถานศึกษาสร้างคนดี  มีความสุข นำความรู้  สู่มาตรฐานสากล

 

พันธกิจ (Mission)

  1. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  2. ส่งเสริมการจัดการศึกษาของผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตร และพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
  3. ส่งเสริม พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษา
  4. ส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้  จัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามแนวทางพหุปัญญา
  5. ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา สื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยี โดยใช้แหล่งเรียนรู้และสื่อเทคโนโลยีอย่างประหยัด คุ้มค่าเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในทุก ๆ ด้าน
  6. สร้างโอกาส ความความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา พัฒนาการเรียนรู้แบบบูรณาการมีทักษะในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ตามอัตลักษณ์ของสถานศึกษา
  7. ส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สร้างภูมิคุ้มกัน และมีทักษะการดำรงชีวิตที่ปลอดภัยทุกรูปแบบ
  8. ส่งเสริม พัฒนาการบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม ตามหลักธรรมมาภิบาล


สมรรถนะหลักของโรงเรียน 

           1. หลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา
           2. ส่งเสริมพัฒนาบุคลากร พัฒนางาน พัฒนาผู้เรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
           3. การดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นระบบ

 

ค่านิยม

           ซื่อสัตย์ สุจริต สามัคคี มีวินัย มีจิตสาธารณะ สืบสานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

เป้าประสงค์

    1. ผู้เรียนทุกคนมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง
    2. ผู้เรียนทุกคนได้รับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้  สมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ครบตามหลักสูตรที่กำหนด และมีทักษะการดำรงชีวิตที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
    3. ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ มีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล
    4. ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์
    5. ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมปฏิสัมพันธ์ และการปฏิบัติอย่างหลากหลาย (Active Learning) ตอบสนองผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามแนวทาง
      พหุปัญญา
    6. นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการบริหารคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
    7. ส่งเสริมคุณภาพทุนมนุษย์ สู่สังคมอนาคตที่ยั่งยืนตามอัตลักษณ์ที่โดดเด่น เสริมสร้างระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยของนักเรียน ด้วยระบบมาตรฐานความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ (MOE Safety Platform)

 

กลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนเมืองกาฬสินธุ์ 

    1. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านวิชาการ สมรรถนะ ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม  มีค่านิยมอันพึงประสงค์และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
    2. พัฒนา เสริมสร้างศักยภาพผู้เรียน ให้มีคุณภาพ สืบสานวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น มีจิตอาสารักษ์สิ่งแวดล้อม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
    3. ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพสู่ครูมืออาชีพ สามารถนำสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
    4. พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล  เสริมสร้างระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัย
      ของนักเรียนในทุกมิติ
    5. การบริหารคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งชุมชน เครือข่ายทางการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน สร้างโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียมและมีคุณภาพ

 

จุดเน้นของโรงเรียน 

      1. พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ทั้งในระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่  ระดับชาติ  และทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21  
      2. นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  มีทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุขตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      3. เพิ่มศักยภาพนักเรียนด้านคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  ภาษา  ศิลปะ  ดนตรี  นาฏศิลป์ และกีฬา  เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างองค์ความรู้สู่พหุปัญญา
      4. ส่งเสริมให้ทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง  การศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพ (Alternative Learning)  ลดการออกจากระบบการศึกษา ช่วยเหลือเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา หรือได้รับการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสม  และมีทักษะการดำรงชีวิตที่ปลอดภัยทุกมิติ
      5. นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาในการจัดการศึกษา โดยทุกภาคส่วนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการเรียนรู้
      6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นกลไกขับเคลื่อนการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพสู่มาตรฐานสากล

     

JSN Solid template designed by JoomlaShine.com